หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์แผนการสอน

วิเคราะห์ แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง แร่และหิน เวลา 5 ชั่วโมง
     ที่มา: บทความทางวิชาการเรื่องแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร พัชราพร รัตนวโรภาส และพีราวุฏฐ์ พิมพ์รอด
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองและอธิบายกระบวนการเกิดหินและสมบัติบางประการของหิน
2. ระบุชนิดของหินในท้องถิ่น
3. อธิบายและยกตัวอย่างประโยชน์ของหินชนิดต่างๆ โดยเฉพาะหินในท้องถิ่น
4. เสนอแนะการจัดการ การใช้ประโยชน์จากหินอย่างคุ้มค่า

แนวความคิดหลัก
     หินมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีกระบวนการเกิด มีลักษณะและองค์ประกอบแตกต่างกัน หินอัคนีเป็นหินที่เกิดจากการตกผลึกของแร่และการเย็นตัวแข็งของแมกมา แบ่งเป็นหินอัคนีแทรกซอนมีเนื้อหยาบ และหินอัคนีผุ กร่อน พัดพา กดทับ และเชื่อมประสาน หินตะกอนจึงมีลักษณะเป็นเนื้อผสมแยกกันเห็นชัด ยกเว้นหินตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวทางเคมีของซากพืช ซากสัตว์ในทะเล จะมีเนื้อละเอียดเนียน เช่น หินปูน หินแปรเป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพจากหินเดิมภายใต้อิทธิพลของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมีในสภาพแวดล้อมต่างๆ กันด้วยกระบวนการแปรสภาพ หินแปรจึงมีลักษณะที่เหมือนถูกกดทับ มีการเรียงตัวของแร่เป็นชั้นบ้าง หรือถูกแปรสภาพเป็นแร่ใหม่ในเนื้อหินบ้างเป็นต้น
การนำหินไปใช้ประโยชน์ขึ้นอยู่กับลักษณะและองค์ประกอบของเนื้อหินเช่น ใช้ในการก่อสร้างใช้ในการประดับตกแต่ง ใช้ปูพื้นทางเดิน ใช้บุผนัง

กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดหินแต่ละประเภท แล้วสรุปประเด็นสำคัญปฏิบัติการทดลอง
2. จำลองการเกิดหินอัคนี โดยใช้สรละลายสารส้มที่อิ่มตัว แล้วปล่อยให้ตกผลึกอย่างช้า ๆ และ
รวดเร็ว เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น สังเกตและบันทึกรูปร่างผลึกของสารส้มที่ได้ลงในใบกิจกรรม
3. ปฏิบัติการทดลอง จำลองการเกิดของหินตะกอนโดยวิธีต่าง ๆ คือ
3.1 การสาธิตจากแบบจำลองเพื่อแสดงถึงการพัดพา การสะสม การทับถมตะกอน
3.2 ทดลองจำลองการแข็งตัวของตะกอนที่ถูกสะสมทับถม โดยใช้กาวเป็นตัวเชื่อมประสาน
3.3 สังเกตลักษณะการสะสมทับถมตะกอน และการแข็งตัวของตะกอน แล้วบันทึกลงในใบกิจกรรม
4. ปฏิบัติการทดลอง จำลองการเกิดของหินแปร โดยใช้ดินน้ำมันเป็นก้อนกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 5-7 เซนติเมตร ใช้คลิปหนีบกระดาษกดลงในก้อนดินน้ำมันทุกทิศทางโดยรอบ แล้วออกแรงกดทับด้วยของหนักบนพื้นโต๊ะ สังเกตก้อนดินน้ำมันและคลิปหนีบกระดาษ เปรียบเทียบกันระหว่างก่อนและหลังการกดทับ บันทึกผลลงในใบกิจกรรม
5. นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลการทดลอง และร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่างๆ แล้วสรุปผลประเด็นในการอภิปราย
- กระบวนการเกิดของหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร
- กระบวนการเกิดของหินแต่ละชนิด ทำให้หินมีลักษณะต่างกัน
- การเกิดหินแต่ละประเภท มีกระบวนการเกิดที่แตกต่างกันอย่างไร
- เนื้อหินแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน อย่างไร
- ประเด็นอื่น ๆ ที่นักเรียนสนใจ
6. ศึกษาหินตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ
6.1 สำรวจ ตรวจสอบ สังเกต บันทึกลักษณะของหินตัวอย่างด้วยตาเปล่า และจัดประเภทของหิน โดยใช้เกณฑ์ที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบหินแต่ละก้อน แล้วบันทึกผล
6.2 นักเรียนสำรวจตรวจสอบ สังเกต บันทึกลักษณะของหินตัวอย่างเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้แว่นขยาย และนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการศึกษาเพิ่มเติมเอกสารมาสรุปลงความเห็นจัดจำแนกประเภทของหินอีกครั้งหนึ่ง
6.3 เปรียบเทียบกับการจำแนกหินเป็นกลุ่มด้วยตาเปล่ากับเมื่อใช้แว่นขยาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไรเพราะเหตุใด
7. สำรวจแหล่งหินในท้องถิ่นหรือบริเวณใกล้เคียง โดยจัดเป็นกิจกรรมค่ายศึกษาธรณีวิทยาในท้องถิ่น

การเตรียมตัวล่วงหน้าของครู
- เตรียมสำรวจบริเวณที่จะศึกษาล่วงหน้า และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและประเภทของหินทั้งจากเอกสาร ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาและหน่วยงานทางธรณีวิทยาในท้องถิ่น คือ กรมทรัพยากรธรณี หรือทรัพยากรธรณีเขต หรือทรัพยากรธรณีจังหวัด
- เตรียมวิทยากร
- จัดแบ่งบริเวณที่จะให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาและทำกิจกรรม
- เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการศึกษาภาคสนาม ได้แก่ แผนที่ในการเดินทาง แผนที่ธรณีวิทยา แว่นขยาย ค้อนธรณีหรือค้อนปอนด์ และเอกสารประกอบการค้นคว้า
- เตรียมตัวนักเรียน โดยแนะนำเกี่ยวกับการแต่งกายของนักเรียน ได้แก่ กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว หมวก ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบ เป็นต้น

กิจกรรมของนักเรียน
- นักเรียนสำรวจและศึกษาแหล่งหินในภาคสนาม โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้ศึกษาที่ละแหล่งจนครบทั้งบริเวณ บันทึกรายละเอียด การสังเกต การวิเคราะห์ อภิปราย และลงความเห็นภายในกลุ่มลงในใบกิจกรรม
- นักเรียนนำเสนอผลการศึกษาหินแต่ละแห่ง และอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับแหล่งหินและลักษณะของหินแต่ละบริเวณ
- นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้เรื่องหินในท้องถิ่นจากการศึกษาภาคสนาม
- นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหินประเภทต่างๆ และการใช้หินในท้องถิ่น แล้ว

สรุปผล
- นักเรียนรวบรวมความรู้ ประสบการณ์ และความประทับใจที่ได้จากการศึกษาภาคสนามบันทึกลงในใบกิจกรรม

กระบวนการวัดและประเมินผล
1. สังเกตการณ์ปฏิบัติทั้งในห้องทดลองและทำกิจกรรมภาคสนาม ซึ่งประเมินกระบวนการทำกิจกรรม การนำเสนอผลการทำกิจกรรม การอภิปรายแสดงความคิดเห็น การสรุปความรู้
2. ประเมินความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม
3. ให้นักเรียนประเมินตนเองและประเมินผลของเพื่อนกลุ่มต่าง ๆ
4. ประเมินเจตคติ คุณธรรม ค่านิยม ที่นักเรียนแสดงออกให้เห็นตลอดกระบวนการเรียน

แหล่งการเรียนรู้
1. สวนธรณีในท้องถิ่น
2. แหล่งหินในท้องถิ่น
3. ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีในท้องถิ่น
4. หน่วยงานด้านธรณีในท้องถิ่น
5. เอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหิน
6. เว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น
http://www.kids.eart.nasa.gov/
http://www.observe.arc.nasa.gov/nasa/core.shtml.html
http://www.soest.hawaii.edu/

     การวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ในที่นี้เป็นการวิเคราะห์ตามหลักวิชาการและขอโยงกลับไปที่ปัญหาของครูที่กล่าวมาในตอนต้น เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านเห็นภาพตาม จึงขอแยกเป็นประเด็นใหญ่ ๆ 4 ประเด็น คือ

     ประเด็นแรก แผนการจัดการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 มีหลายแผ่นซึ่งการเขียนหลายแผ่นนี้อาจทำให้ครูเบื่อหน่ายได้เหมือนปัญหาข้อแรกของครูที่บอกว่ามีรายละเอียดมากเกินไปซับซ้อน อีกประการหนึ่งไม่ทราบว่าแต่ละหัวข้อที่เขียนมานั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ถ้าครูอยากรู้ครูก็ต้องพลิกไปพลิกมาเสียเวลาทั้งเวลาเขียนและเวลานำมาใช้ ด้วยเหตุนี้ใช่หรือไม่ที่ทำให้ครูเบื่อหน่าย และไม่รู้ว่าจะนำมาเชื่อมโยงกันอย่างไร
     ประเด็นที่สอง เริ่มจากชื่อหน่วยที่ตั้งไว้ว่า “แร่และหิน” แต่พอมองที่จุดประสงค์การเรียนรู้ว่าจะสอดคล้องกันหรือไม่ก็พบว่า
- จุดประสงค์การเรียนรู้ทั้ง 4 ข้อ พูดถึงแต่เฉพาะเรื่อง “หิน” เท่านั้น ไม่มีจุดประสงค์ข้อใดพูดถึงเรื่อง “แร่” เลย จึงมองไปที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ว่าจะพูดเรื่องแร่ด้วยหรือไม่ ก็พบว่า
- กระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมี 7 ข้อด้วยกันและทุกข้อพูดแต่การเรียนรู้เรื่อง “หิน” เพียงอย่างเดียว จึงพลิกไปดูกิจกรรมของนักเรียนว่าจะมีกิจกรรมใดที่เป็นการศึกษาเรื่อง “แร่” หรือไม่ก็พบว่า
- กิจกรรมของนักเรียน ทุกกิจกรรมให้ผู้เรียนศึกษาเฉพาะเรื่อง “หิน” เท่านั้น
     ประเด็นที่สาม ดูที่จุดประสงค์การเรียนรู้ข้อที่ 1 ที่ว่า “ทดลองและอธิบายกระบวนการเกิดหิน และสมบัติบางประการของหิน”  ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า เราจะทดลองการเกิดหินได้อย่างไร และจะทดลองได้จริงหรือ เพราะหินนั้นกว่าจะเป็นหินได้ต้องใช้เวลานับร้อย ๆ ปี
ดูที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ในข้อ 2...“จำลองการเกิดหินอัคนี โดยใช้สารละลายสารส้มที่อิ่มตัว แล้วปล่อยให้ตกผลึกอย่างช้า ๆ และอย่างรวดเร็ว เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น สังเกตและบันทึกรูปร่างผลึกของสารส้มที่ได้ลงในใบกิจกรรม”
     ประเด็นที่สี่ มาดูกันที่กระบวนการวัดและประเมินผลตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 3
1. สังเกตการปฏิบัติทั้งในห้องทดลองและการทำกิจกรรมภาคสนาม (เป็นการประเมินในขณะที่เรียน)
2. ประเมินความร่วมมือในการทำกิจกรรมในกลุ่ม (ก็เป็นการประเมินในขณะที่เรียน)
3. ให้นักเรียนประเมินตนเองและประเมินผลของเพื่อนกลุ่มต่าง ๆ ( ก็ยังคงเป็นการประเมินในขณะเรียน)
ที่จริงแล้วการประเมินนี้มี 2 แบบคือ 1. ประเมินจากกิจกรรม  2. คิดกิจกรรมมาใหม่   แต่ดูจากการประเมินทั้ง 3 ข้อ จะพบว่าเป็นการประเมินในขณะที่เรียนทั้งสิ้น ไม่มี “เครื่องมือ” ที่ใช้ในการประเมิน และที่น่าสังเกต “กิจกรรมหรืองาน” ที่ใช้ในการประเมินก็ไม่มีเช่นกัน ที่สำคัญการประเมินในข้อที่ 4
4. ประเมินเจตคติ คุณธรรม ค่านิยม (ก็ไม่มีบอกไว้ในจุดประสงค์หรือในกิจกรรมการเรียนเลย)
ถามว่าการประเมินในข้อที่ 4 นั้นผิดหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ผิดถ้าจะประเมิน แต่ที่ถูกคือควรจะระบุไว้ในจุดประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้หรือในกิจกรรมการเรียนเพื่อที่ผู้สอนจะได้เตรียมการให้สอดรับกับการประเมินผลนั้น ๆ
      จากการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องแร่และหินข้างต้น ผู้เขียนขอเสนอแนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้นี้ผู้เขียนได้นำปรัชญา การเรียนรู้อย่างหนึ่งที่มีการกล่าวขานกันมากในปัจจุบันคือ การสร้างองค์ความรู้ (Constructivism) มาเป็นแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น