หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จุดเริ่มต้นของการศึกษาไทย

การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น ดูเป็น ฟังเป็น รู้จักใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น
     เพระ การศึกษาพื้นฐานคือเรื่องการบริโภคปัจจัยสี่ กับเรื่องการใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้ จะต้องให้เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา ถ้าได้จุดนี้แล้วการศึกษาก็เริ่มเดินหน้า ถ้าเข้าโรงเรียนแล้วไม่รู้จักใช้ ตา หู จมูก ลิ้น ก็คือไม่มีการศึกษา เพราะยังไม่ได้เริ่มการศึกษาเลย เพราะฉะนั้น ต้องถามตัวเองว่า
     1. ดูแล้วได้ความรู้ไหม ได้ความรู้คือได้ปัญญา หรือเดินหน้าไปในการที่จะเข้าถึงความจริง เราต้องมีความรู้จึงจะสามารถดำเนินชีวิตและกิจการต่างๆ ได้สำเร็จ และจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ เพราะฉะนั้นดูแล้วต้องรู้ คือก้าวไปหาความจริง
     2. ดูแล้วได้ประโยชน์ไหม ได้ประโยชน์คือสามารถเอามาพัฒนาชีวิตและทำการสร้างสรรค์ต่างๆ คือดูแล้วได้ข้อมูล ได้แง่มุมความคิด ได้คติ ที่จะเอามาใช้ประโยชน์
      จุดเริ่มต้นของการศึกษาไทยในอดีตเริ่มที่วัด โดยพระสงฆ์เป็นผู้จัดการเรียนรู้อบรมสั่งสอนให้ได้รับความรู้คู่คุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม  โดยมีการการจัดการศึกษาเพื่อตัวบุคคล คือภิกษุสามเณรทุกรูปที่บวชมาจะต้องศึกษาหลักเบื้องต้นคือพระวินัย การศึกษาพระวินัยก็คือศึกษาเรื่องศีลของภิกษุสามเณร ระเบียบปฏิบัติทางศาสนา รวมถึงธรรมเนียมต่างๆ เป็นการศึกษาเพื่อรักษาตัวเอง เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง ทำได้ถูกต้อง ตลอดถึงศึกษาเพื่อเอาตัวให้รอด คือหลุดพ้นจากความทุกข์ เช่นศึกษาและปฏิบัติกรรมฐาน การจัดการศึกษาแบบนี้เป็นการจัดให้เฉพาะตัวบุคคล ได้ประโยชน์เฉพาะตัว ใครทำใครได้ และเอาตัวรอดได้ โดยจะเรียนตามอัธยาศัย เรียนจากตำรา หรือจากครูอาจารย์ก็ได้      การจัดการศึกษาเพื่อพระศาสนา คือจัดหลักสูตรให้เป็นประโยชน์ในเชิงธำรงรักษาเนื้อหาสาระหรือแก่นสารพระศาสนาเข้าไว้ ได้แก่ การเรียนนักธรรมและบาลี หลักสูตรที่ใช้เรียนก็มีเนื้อหาที่มีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า โดยนำพระไตรปิฎกและหลักธรรมต่างๆ มาย่อแล้วเรียนกัน เรียนเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา เรียกกันว่าเรียนพระพุทธพจน์ ที่พระพุทธศาสนาดำรงคงอยู่และสืบต่อมาได้ทุกวันนี้โดยไม่สูญหายหรือผิดเพี้ยนไป และมีการสืบทอดพัฒนาตลอดมาก็เพราะได้อาศัยการศึกษาเล่าเรียนแบบนี้
     การจัดการศึกษาเพื่อสังคม การศึกษาแบบนี้เป็นการจัดการศึกษาเพื่อช่วยเหลือสังคมคือลูกชาวบ้านโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา กล่าวคือสมัยแรกๆ รัฐไม่สามารถจัดการศึกษาได้ทั่วถึง ทำให้ลูกชาวบ้านผู้ใฝ่รู้แต่ยากจนไม่มีโอกาสได้เรียน จึงอาศัยมาบวชเป็นสามเณรจึงได้เรียน การเรียนแบบนี้เรียกกันว่า "พระปริยัติธรรมแผนกสามัญ" คือเรียนวิชาทางโลกควบคู่กันไปกับเรียนทางธรรมตามแบบที่ 2 เมื่อเรียนจบแล้วก็สึกหาลาเพศไป และสามารถใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพเป็นพลเมืองดีของชาติต่อไปได้ การจัดการศึกษาแบบนี้จึงเป็นการช่วยเหลือสังคมหรือผลิตคนที่มีคุณภาพให้สังคมได้ทางหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น